วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โรคลูปัส (Systemic Lupus Erythematosus)

โรคลูปัส (Systemic Lupus Erythematosus)



โรคลูปัส (Systemic lupus erythematosus, SLE) เป็นโรคภูมิต้านทานตนเองทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง ที่พบได้บ่อย โดยลักษณะพิเศษที่พบในโรคนี้คือการตรวจพบมีแอนติบอดีต่อส่วนประกอบในนิวเคลียสของเซลล์ (antinuclear antibody, ANA) โรคนี้จะมีอาการแสดงของความผิดปกติหลายระบบในร่างกายร่วมกัน เช่นผื่นโรคลูปัส

  • ระบบผิวหนัง
  • ระบบประสาท
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • กล้ามเนื้อและข้อ
  • เม็ดเลือด
  • ไต
  • ระบบทางเดินหายใจ ฯลฯ

ดังนั้น ผู้ป่วยโรคลูปัส จึงมีอาการแสดงทางคลินิกที่หลากหลาย ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความรุนแรง และพยากรณ์โรคที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับจำนวนอวัยวะ และชนิดของอวัยวะที่มีความผิดปกติ อาการที่ไม่รุนแรง เช่น อาการผื่น ปวดข้อ ไปจนถึงอาการแสดงที่มีความรุนแรงถึงชีวิต เช่น ไตอักเสบ การดำเนินโรคในโรคลูปัสนั้น ส่วนใหญ่จะมีช่วงเวลาที่โรคกำเริบ และช่วงเวลาที่โรคสงบสลับกัน โดยอาการขระกำเริบนั้นมีความแตกต่างกันระหว่างบุคคล การให้การดูแลรักษาผู้ป่วยแต่ละรายขณะที่มีอาการกำเริบแตกต่างกัน นอกจากนี้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคลูปัสไม่ได้จำกัดเพียงการรักษาขณะที่ผู้ป่วยมีอาการกำเริบเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการวางแผนการรักษาโรคในระยะยาวเพื่อป้องกันการกำเริบ และภาวะแทรกซ้อนทั้งจากตัวโรคและจากการรักษาโรคร่วมกับการติดตามผู้ป่วยที่เหมาะสม

      ผู้ป่วย SLE รักษาไม่หายแต่สามารถมีคุณภาพีชีวิตใกล้เคียงคนปกติ ผู้ป่วยต้องทราบว่าโรคนี้จะมีบางช่วงที่ปราศจากอาการเรียก remission บางช่วงก็มีระยะที่เกิดโรคกำเริบเรียก flares ผู้ป่วยต้องเรียนรู้วิธีป้องกันโรคกำเริบและรู้วิธีรักษาโรคนี้มักจะเป็นในผู้หญิงแต่ไม่เป็นกรรมพันธุ์ โรค SLE มีได้หลายลักษณะดังนี้

  • Systemic lupus erythematosus (SLE) หมายถึงโรคที่มีการทำอักเสบและมีการทำลายเนื้อเยื่อหลายอวัยวะ เช่น ผิวหนัง ไต ข้อ หัวใจ
  • Discoid lupus erythematosus โรคที่เป็นเฉพาะผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณหน้า หนังศีรษะ ผู้ป่วยจำนวนไม่มากที่เปลี่ยนไปเป็น SLE
  • Drug-induced lupus เป็นกลุ่มโรคที่มีอาการเหมือน SLE เช่น มีผื่น ข้ออักเสบ มีไข้ แต่ไม่เป็นโรคไต เมื่อหยุดยาอาการต่างๆจะหายไป
  • Neonatal lupus ทารกที่เกิดจากแม่ที่เป็น SLE พบน้อยมาก

สาเหตุของโรคลูปัส SLE
      แพ้แดดสาเหตุที่แท้จริงไม่มีใครทราบ แต่เชื่อมีปัจจัยทางพันธุกรรมส่งเสริม ซึ่งมีหลักฐานจากการเกิดโรคลูปัสในแฝดที่มาจากไข่ใบเดียวกัน มีการเกิดโรคลูปัสสูงกว่าแฝดที่มาจากไข่คนละใบ นอกจากนั้นยังพบยีนที่เอื้อต่อการเกิดโรค ปัจจัยสำคัญคือสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการทำให้เกิดโรค เช่น การติดเชื้อ ยา แสงแดด สาเคมีในสิ่งแวดล้อม

อาการของโรคลูปัส SLE

แพ้แสงแดดโรคลูปัสมีความรุนแรงแต่ละคนไม่เท่ากัน และสามารถเกิดอวัยวะได้หลายอวัยวะ เช่น
  • อาการทางข้อ
  • อาการทางผิวหนัง
  • อาการทางระบบประสาท
  • อาการทางโรคเลือด
  • อาการทางโรคไต
  • อาการทางโรคหัวใจ
การวินิจฉัยโรค SLE
       เนื่องจากความรุนแรงของโรคในแต่ละคนไม่เท่ากัน และอาการแต่ละระบบก็มีความรุนแรงต่างกันและอาการแสดงไม่พร้อมกัน ทำให้การวินิจฉัยโรคมีความไม่แน่นอน จึงต้องวินิจฉายตามเกณฑ์ซึ่งต้องอาศัยประวัติ การตรวจร่างกายพบผื่น ข้ออักเสบ แพ้แสง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การรักษาโรคลูปัส
      โรคลูปัสจะเป็นๆหายๆ และมีการกำเริบ หลักสำคัญการรักษาโรคลูปัสคือการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการกำเริบ การรักษาแบ่งออกเป็นการชักนำเพื่อให้โรคสงลโดยเร็วเพื่อป้องกันไตเสื่อม เมื่อโรคสงบแล้วจะต้องป้องกันมิให้โรคกำเริบ การรักษาแบ่งออกเป็นการดูแลตัวเอง และการใช้ยา

โรคแทรกซ้อนของโรคลูปัส
      โรคลูปัสเป็นโรคที่กระทบกับอวัยวะหลายอวัยวะและหลายระบบ การป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากตัวโรคเอง เช่นไตวาย ซีด เกล็ดเลือดต่ำ โรคทางระบบประสาท รวมทั้งโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากยากดภูมิ เช่นการติดเชื้อฉวยโอกาศ เช่น วัณโรค โรคพยาธิ์ นอกจากนั้นยังต้องป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเกิดโรค

คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย SLE
      แม้ว่าอาการของโรค SLE จะมีมากและผลข้างเคียงของยาจะมีมากแต่ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอย่างมีความสุขได้ หากเรียนรู้ถึงอาการเตือนของการกำเริบของโรค  และสามารถรู้ถึงวิธีป้องกันโรค ผู้ป่วยควรไดัรับการตรวจจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอโดยการตรวจร่างกาย และตรวจเลือด ไม่ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการเนื่องจากการรักษาแต่เริ่มแรก จะให้ผลการรักษาได้ผลดีกว่าการรักษาเมื่อโรคเป็นมากแล้ว
      ผู้ป่วย SLE ควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีเช่น การตรวจเต้านม การตรวจภายใน การตรวจสุขภาพช่องปาก และการฉีดวัคซีน ผู้ป่วยที่รับประทานยา steroid หรือยารักษามาลาเรียควรได้รับการตรวจตาทุกปี

สัญญาณเตือนภั
  1. อ่อนเพลีย Increased fatigue 
  2. ปวดข้อ Pain 
  3. ผื่น Rash 
  4. ไข้ Fever 
  5. แน่นท้อง Stomach discomfort 
  6.  ปวดศีรษะ Headache 
  7.  มึนงง Dizziness
การป้องกันการกำเริบ
  1. ต้องเรียนรู้สัญญาณเตือนภัย
  2. ต้องตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. ตั้งเป้าหมายการรักษา
  4. ต้องหลีกเลี่ยงแสงแดด
  5. รักษาสุขภาพให้ดีและคุมอาหาร
  6. หลีกเลี่ยงความเครียด
  7. ต้องมีเวลาผักผ่อนเพียงพอ
  8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
สรุป
โรคลูปัสนั้นเป็นโรคเรื้อรังที่มีความหลากหลายของอาการ และอาการแสดง แพทย์ควรมีความรู้ ความเข้าใจในการวินิจฉัย การประเมินอวัยวะที่มีอาการ ระดับการกำเริบของโรค อวัยวะที่สูญเสียหน้าที่ไปแล้ว ภาวะแทรกซ้อนในระยะสั้น ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกชนิดการรักษา โดยคำนึงถึงการรักษาที่พอเพียงที่จะควบคุมโรคได้ มีผลแทรกซ้อนในระยะสั้นและระยะยาวน้อยที่สุด เนื่องจากการรักษาโรคลูปัสมีระยะการรักษาโรคยาวนาน ดังนั้น นอกจากการรักษาตัวโรคแล้วยังควรให้การรักษาป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว และควรให้ความสำคัญต่อการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยถึงแนวทางการรักษา แนวทางการปฏิบัติตนซึ่งจะนำไปสู่ผลการรักษาที่ดีในระยะยาว

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โรคซึมเศร้า ตอนที่ 3

โรคซึมเศร้า ตอนที่ 3

แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้า



 “โรคซึมเศร้า ถือเป็นภาวะโรคซึ่งปัจจุบันเป็นปัญหาในการดูแลรักษาในอันดับที่ 5-6 ของโลก ซึ่งในอนาคตอาจขยับขึ้นเป็นปัญหาอันดับ 2 เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ต่างจากเบาหวาน หรือ หัวใจ อย่าคิดว่าเป็นแล้วจะสามารถหายได้เอง โรคนี้เป็นมหันตภัยเงียบ นอกจากส่งเสียกับตัวเอง ยังส่งผลกระทบกับบุคคลรอบข้างอีกด้วย” (นายแพทย์อภิชัย มงคล, Quality of Life – Manager Online)

        หนทางการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้น มีค่อนข้างหลากหลายวิธี และแนวทาง เนื่องจาก เป็นโรคที่ต้องบำบัดทั้งทางร่างกาย และจิตใจ โดยเฉพาะในเรื่องของจิตใจ หากเกิดการเสียศูนย์แล้ว การเยียวยารักษาต้องค่อยเป็นค่อยไป อีกทั้งยังต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิด อย่างที่ได้เคย มีคนกล่าวไว้ว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว”...

        ในบทความนี้จะสรุปวิธี หรือแนวทางการรักษา และบำบัดอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งมี มากมายทั้งการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ, การบำบัดด้วยพฤติกรรม, ธรรมชาติบำบัด, สารอาหาร ฯลฯ ดังนี้(ปุณยภพ สิทธิพรอนันต์ : “ฆ่าตัวตาย เพราะโรคซึมเศร้า”)

         จิตบำบัดแบบจิตพลวัต (Psychodynamic Psychotherapy) – มีพื้นฐานของทฤษฎีที่ ว่าปัญหา ความผิดหวัง ความเศร้า เป็นสิ่งที่ถูกเก็บซ่อนไว้ในใจเราตั้งแต่ยังเป็นเด็ก โดยเก็บไว้ใน รูปแบบของจิตใต้สำนึก จนนำไปสู่สาเหตุของโรคซึ่มเศร้า (Psychodynamic Psychotherapy) – มีพื้นฐานของทฤษฎีที่ว่าปัญหา ความผิดหวัง ความเศร้า เป็นสิ่งที่ถูกเก็บซ่อนไว้ในใจเราตั้งแต่ยัง เป็นเด็ก โดยเก็บไว้ในรูปแบบของจิตใต้สำนึก จนนำไปสู่สาเหตุของโรคซึ่มเศร้า

        วิธีการรักษาคือใช้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับผู้รักษา เพื่อให้ผู้ป่วยเล่าข้อขัดแย้งในจิตใจ ออกมา เรียกกระบวนการนี้ว่าการโอนถ่ายข้อมูล (Transference) ซึ่งผู้รักษาจะสะท้อนพฤติกรรม ของผู้ป่วยออกมาให้ผู้ป่วยเห็นปัญหาในตัวเอง และเข้าใจพฤติกรรมของตนเองอย่างลึกซึ่ง เรียกว่า เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุจริง ๆ

         จิตบำบัดแบบเน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล – มีพื้นฐานจากความเชื่อที่ว่า โรคซึม เศร้าเกิดจากปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือจากความสัมพันธ์ในสังคมไม่ดี


        การบำบัดแบบนี้จะเน้นสาเหตุที่เป็นปัจจุบันและแก้ไขง่ายกว่าการสืบสาวหาต้นตอปัญหา ผู้ รักษาจะช่วยปรับความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น

         จิตบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความสึกคิด และพฤติกรรมบำบัด – การรักษาแบบนี้จะเน้น การที่ทำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และความคิดเพื่อที่จะเอาชนะอารมณ์ซึมเศร้าได้

         การบำบัดอารมณ์ด้วยเหตุผล – วิธีการบำบัดด้วยความคิดที่มีเหตุผลนี้เชื่อว่า จิตใต้ สำนึกของเรานั้นสามารถสร้างปัญหาทางอารมณ์ได้โดยผ่านความคิดที่ไม่มีเหตุผล หรือความเชื่อ ที่ไร้เหตุผล ไม่ว่าจะเกิดจากพันธุกรรม หรือการเลี้ยงดู แต่ความคิดแบบนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ การบำบัดวิธีนี้จะใช้วิธีที่เป็นวิทยาศาสตร์มาก ๆ นั้นคือใช้การตั้งสมมติฐาน และพิสูจน์สมมติฐานนั้น

        อย่างไรก็ดีจุดประสงค์หลักของการรักษาแบบนี้จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อบุคคลนั้น ต้อง พยายามเปลี่ยนความเชื่อของตนอย่างต่อเนื่อง และอย่างสม่ำเสมอ

         จิตบำบัดแบบสตรีนิยม – เน้นมุมมองที่ผู้หญิงถูกแยกแยะบทบาทางเพศ ให้รู้สึกด้อยค่า การรักษาแบบนี้จะทำให้ผู้ป่วยตระหนักในคุณค่าตัวเอง และแสดงออกในการรักษาด้วยตนเอง ความ คิดเห็นของผู้ป่วยจะไดรับการยอมรับอย่างเต็มที่ ประหนึ่งว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง ที่สำคัญคือ ผู้ ป่วยจะถูกกระตุ้นให้มองเห็นบทบาทของความแตกต่างทางเพศที่สังคมกำหนด ให้และเป็นเหตุให้ เกิดปัญหาของผู้ป่วยขึ้น

         การบำบัดแบบคู่สมรส และการบำบัดครอบครัว – การบำบัดนี้จะใช้ความร่วมมือของ สมาชิกในครอบครัวให้มาบำบัดร่วมกัน

         การใช้ยาแก้เศร้า – ยาแก้เศร้าคือยาที่ป้องกันอารมณ์ซึมเศร้า หรือลดอารมณ์ซึมเศร้า ยานี้จะช่วยให้การทำงานของสมองในผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลับมาเป็นอย่างเดิม โดยการช่วยให้สารสื่อ สมองที่ขาดหายไปกลับมาทำงานตามปกติ ยาแก้เศร้ามีหลายตัวซึ่งจะต้องจัดแตกต่างกันตาม ลักษณะอาการ อายุ และเพศของผู้ป่วยด้วย

         เครื่องช็อตฟฟ้า – เป็นวิธีที่นำมารักษาโรคซึมเศร้าอย่างได้ผล โดยการปล่อยกระแส ไฟฟ้าอ่อน ๆ ส่งผ่านขั้วไฟฟ้าซึ่งติดไว้ที่ศรีษะบริเวณขมับทั้งสองข้าง และปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่าน ขั้วไฟฟ้าเข้าไปในสมอง และหลังจากหายแล้วผู้ป่วยยังต้องกินยารักษาอย่างต่อเนื่องอีกหลายเดือน หรืออาจเป็นปี

         การบำบัดด้วยแสงสว่าง – วิธีการรักษาโดยทั่วไปจะให้แสงสว่างผ่านกล้องที่มีไฟฟ้า และวางไว้บนโต๊ะในแนวราบ หรือตั้งฉากกับพื้น การรักษาด้วยแสงสว่างนี้เหมาะกับโรคซึมเศร้า ประเภทซึมเศร้าตามฤดูกาล ซึ่งจะเกิดขึ้นในบางช่วงเวลาที่แสงแดดอ่อน ๆ เช่น ในช่วงฤดูหนาว เวลาเย็น ๆ หรือช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน

         สารอาหารแก้เครียด – สำหรับอาหารที่ช่วยคลายเครียดได้อย่างดี ต้องมีคุณค่าทาง อาหารครบประกอบด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ ซึ่งมีส่วนช่วยให้การ ทำงานของร่างกาย และจิตมีประสิทธิภาพ

         วิตามินบี คอมเพล็กซ์ หรือวิตามินบีรวม – เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นวิตามินที่ต่อต้าน ความเครียดได้

         การออกกำลังกาย – คนที่มีอาการซึมเศร้าเมื่อไปพบแพทย์ นอกเหนือจากการได้รับ ยาต้านอารมณ์เศร้าแล้ว ยังมักจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย

         ดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ – โดยน้ำที่เหมาะแก่การดื่มคือ น้ำอุณหภูมิปกติ ไม่ร้อน ไม่เย็นเกินไป ถ้าเป็นน้ำอุ่นควรดื่มตอนเช้า เพื่อช่วยล้างลำไส้ให้สะอาด และช่วยในการขับถ่ายของเสีย

         การนอนหลับ – การควบคุมการนอนให้ได้เหมาะสม ทำให้ร่างกายพักผ่อนได้เต็มที่จน เป็นเรื่องปกติ

         ดนตรีบำบัด – ดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมอง ในหลาย ๆ ด้าน

         ประโยชน์ของการสัมผัส – การสัมผัสไม่ใช่มีเฉพาะการกอดเท่านั้น แต่เพียงแค่สัมผัสมือ หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจจะช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ส่วนในคนที่อาศัยอยู่ตามลำพัง หรือ ขาดการสัมผัสจากผู้อื่นหรือคนในครอบครัวที่คุ้นเคย อาจหาวิธีอื่นที่ง่ายและได้ผลดเช่น การนวด วิธีต่าง ๆ
         การกระตุ้นทางสายตา – การได้มองสิ่งที่สวยงามสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของคุณได้ เช่น มองธรรมชาติที่สวยงาม สีสบายตา เป็นต้น

         การกระตุ้นโดยการใช้กลิ่น – ตัวอย่างกลิ่นที่มีผลต่อการผ่อนคลายอารมณ์ซึมเศร้า ได้แก่ กระเพรา, มะกรูด, อบเชย, มะลิ, ตะไคร้, ส้ม, กระดังงา, ใบสะระแหน่, ลาเวนเดอร์, มะนาว เป็นต้น

         ประโยชน์จากการฟัง – การที่ได้ยินเสียงที่รื่นรมย์ทุกวันทำให้ชีวิตของเรามีคุณภาพ เสียงจากธรรมชาติ เช่น นกร้อง น้ำไหล จะช่วยทำให้จิตใจสงบได้

         ประโยชน์จากการเขียน – การเขียนนอกจากจะเป็นวิธีที่แพทย์ใช้ตรวจสอบกระแส ความคิดผู้ป่วยเหล่าแล้วนั้น ยังช่วยหันเหความสนใจของผู้ป่วยต่ออาการซึมเศร้า ทำให้ผู้ป่วยไม่ยึด ติดกับความเชื่อที่ว่าตัวเขาไม่สามารถทำอะไรได้ ผู้ป่วยจะเริ่มฟื้นฟูระบบความคิด ความจำและเรียนรู้ จนนำไปสู่การเปิดตัวเองสู่โลกภายนอกในที่สุด

         ศิลปะบำบัด – ประโยชน์ของการวาดภาพนั้นช่วยให้คุณได้ระบายออกทางอารมณ์ ในยาม ที่คุณรู้สึกเศร้า โดยไม่ต้องกังวลว่าเราต้องเป็นศิลปินหรือมีฝีมือแค่ไหน

         การบำบัดด้วยการหัวเราะ – การหัวเราะนับว่าเป็นวิธีการบำบัดที่สามารถช่วยกระตุ้น ภูมิคุ้มกันของเราให้แข็งแรงขึ้นได้

         พลังบำบัดจากผองเพื่อน – เพื่อน ๆ อาจมีผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา แต่ในแง่ของการให้กำลังใจก็สำคัญเช่นกัน เพื่อน ๆ สามารถสร้างกำลังใจ และสร้างความ ภาคภูมิใจให้ได้ ซึ่งสามารถส่งผลดีในเชิงจิตวิทยาได้


         การเข้าสังคม – การเข้าสังคมเป็นเรื่องยากที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ได้ในทันทีทันใด แต่ต้องอาศัยการยอมรับ และความรู้สึกสนุกจากกิจกรรมนั้นจริง ๆ

         การกำหนดเป้าหมายของชีวิต – การมีชีวิตอยู่โดยปราศจากเป้าหมาย ก็เปรียบเสมือน การเดินทางโดยปราศจากจุดหมายปลายทาง

        ไม่ว่าจะทำการบำบัดรักษาด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือกำลังใจของ คนรอบข้างต่อผู้ป่วย เพราะแม้เข้าจะเกิดทัศนคติที่ดีต่อตัวเองมากแค่ไหน แต่หากครอบครัว เพื่อนฝูงไม่สนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้ป่วยโอกาสที่ผู้ป่วยจะกลับไปเป็น โรคซึมเศร้าก็ย่อม เกิดขึ้น อย่างที่ทราบว่าโรคซึมเศร้านั้นรักษาให้หายได้ แต่ต้องใช้เวลา และความเข้าใจ อย่างมาก

โรคอัลซไฮเมอร์ Alzheimer's disease ตอนที่ 2

โรคอัลไซเมอร์


การป้องกัน
  การศึกษาจากทั่วโลกเพื่อวัดการป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์มักให้ผลการศึกษาที่ขัดแย้งกัน ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดสนับสนุนว่ามีวิธีใดที่ป้องกันโรคอัลไซเมอร์อย่างมีประสิทธิผล อย่างไรก็ตามการศึกษาทางระบาดวิทยาหลายชิ้นแสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ อาทิอาหาร โรคหลอดเลือดหัวใจ ยา หรือกิจกรรมที่ใช้ทักษะทางสติปัญญา กับการลดความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ แต่ยังจำเป็นต้องมีงานวิจัยต่อไปเพิ่มเติมเพื่ออธิบายบทบาทว่าปัจจัยเหล่านี้ลดอัตราการเกิดของโรคนี้ได้อย่างไร
  ส่วนประกอบของอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ผักและผลไม้ ขนมปัง ข้าวสาลีและธัญพืชต่างๆ น้ำมันมะกอก ปลา และไวน์แดง ทั้งหมดสามารถลดความเสี่ยงและช่วงเวลาการเป็นโรคอัลไซเมอร์
  วิตามินหลายชนิดเช่น วิตามินบี12 วิตามินบี3 วิตามินซี หรือกรดโฟลิก ในบางงานวิจัยพบว่าช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ แต่ในบางการศึกษากล่าวว่าไม่พบผลของวิตามินต่อการเกิดหรือการดำเนินโรคอย่างมีนัยสำคัญ ซ้ำยังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่สำคัญ สารเคอร์คิวมิน (curcumin) จากขมิ้นพบว่ามีประสิทธิผลบ้างในการป้องกันการทำลายสมองในหนูทดลอง
  แม้ว่าปัจจัยเสี่ยงด้านโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ภาวะเลือดมีคอเลสเทอรอลมาก ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และการสูบบุหรี่ จะเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อการเกิดและระยะเวลาการดำเนินโรคอัลไซเมอร์ แต่การใช้ยากลุ่มสแตตินเพื่อควบคุมระดับคอเลสเทอรอลกลับไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันหรือช่วยทำให้การดำเนินโรคอัลไซเมอร์ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้ยากลุ่มยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ (NSAIDs) เช่น แอสไพริน ไอบูโปรเฟน ช่วยลดความเสี่ยงจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ในบางคน ยาอื่นๆ เช่น ฮอร์โมนทดแทนในสตรี ไม่พบว่าช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อม ในการทบทวนวรรณกรรมในปี พ.ศ. 2550 สรุปว่าไม่มีหลักฐานอันสอดคล้องกันหรือเชื่อได้ว่าแปะก๊วยให้ผลในการป้องกันความบกพร่องของการรู้  และการศึกษาล่าสุดสรุปว่าแปะก๊วยไม่มีผลในการลดอัตราอุบัติการณ์ของโรคอัลไซเมอร์
  กิจกรรมที่ใช้ทักษะทางสติปัญญาเช่นอ่านหนังสือ เล่นหมากกระดาน เล่นปริศนาอักษรไขว้ เล่นดนตรี หรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมช่วยชะลอการเกิดหรือลดความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์ การพูดได้สองภาษาสามารถชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน

  ในบางการศึกษาพบว่าความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นในผู้ทำงานที่ต้องได้รับสนามแม่เหล็ก ได้รับโลหะโดยเฉพาะอย่างยิ่งอะลูมิเนียม หรือได้รับตัวทำละลาย แต่คุณภาพของการศึกษาดังกล่าวยังเป็นที่ถกเถียงกัน รวมถึงบางการศึกษากลับสรุปว่าไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์

การบำบัดและการจัดการ
  ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาด การรักษาที่มีในปัจจุบันให้ผลดีเล็กน้อยต่ออาการแต่เป็นเพียงแค่ประคับประคองหรือบรรเทาเท่านั้น การรักษาในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือการรักษาด้วยยา การรักษาทางจิตสังคม และการให้การดูแลผู้ป่วย

การรักษาด้วยยา
   ในปัจจุบันมียาหรือเภสัชภัณฑ์ 5 ชนิดที่ได้รับการรับรองโดยหน่วยงานต่างๆ เช่น คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) และหน่วยงานด้านยาของยุโรป (EMEA) ในการรักษาอาการทางการรับรู้ในโรคอัลไซเมอร์ ในกลุ่มยาทั้ง5ชนิดนี้ ประกอบด้วย 4 ชนิดเป็นแอนติโคลีนเอสเทอเรส (anticholinesterase) คือ tacrine, rivastigmine, galantamine และ donepezil และอีก 1 ชนิด คือเมแมนทีน (memantine) ซึ่งเป็นสารต้านตัวรับเอ็นเอ็มดีเอ (NMDA receptor antagonist) แต่ไม่มียาใดที่มีข้อบ่งชี้ในการชะลอหรือหยุดการดำเนินโรคอย่างแท้จริง
   ลักษณะของโรคอัลไซเมอร์ที่เป็นที่เข้าใจกันคือ การลดการทำงานของเส้นประสาทโคลิเนอร์จิก (cholinergic)  แอนติโคลีนเอสเทอเรสถูกใช้เพื่อลดอัตราการทำลายแอซิทิลโคลีน (acetylcholine; ACh) ทำให้เพิ่มปริมาณความเข้มข้นของแอซิทิลโคลีนในสมองเพื่อสู้กับการลดลงของแอซิทิลโคลีนอันเนื่องจากการตายของเซลล์ประสาท ในปี พ.ศ. 2551 แอนติโคลีนเอสเทอเรสที่ได้รับการรับรองในการรักษาอาการโรคอัลไซเมอร์คือ โดเนเพซิล (donepezil; ชื่อการค้า Aricept) ,  กาแลนทามีน (galantamine; ชื่อการค้า Razadyne) , และไรวาสติกมีน (rivastigmine ; ชื่อการค้า Exelon[ และ Exelon Patch) ซึ่งมีหลักฐานแสดงประสิทธิผลของยาต่อโรคอัลไซเมอร์ชนิดอ่อนหรือปานกลาง และมีหลักฐานบางส่วนรับรองถึงการใช้ในโรคอัลไซเมอร์ขั้นรุนแรง เฉพาะโดเนเพซิลเท่านั้นที่ได้รับการรับรองในการรักษาภาวะสมองเสื่อมจากอัลไซเมอร์ขั้นรุนแรง การใช้ยาเหล่านี้กลุ่มความบกพร่องทางการรู้เล็กน้อย (mild cognitive impairment) ไม่มีประสิทธิผลในการชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ที่จะเกิดตามมาภายหลัง ผลข้างเคียงของยาที่พบบ่อยคือคลื่นไส้อาเจียน อันเนื่องจากปริมาณโคลิเนอร์จิกมากเกินไป พบได้ประมาณร้อยละ 10-20 ของผู้ใช้ยาและมีความรุนแรงในระดับน้อยถึงปานกลาง ส่วนผลข้างเคียงที่พบได้น้อยคือตะคริว หัวใจเต้นช้า เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และเพิ่มการสร้างกรดกระเพาะ
   แม้กลูตาเมตจะเป็นสารสื่อประสาทชนิดกระตุ้นที่มีประโยชน์ในระบบประสาท แต่หากมีปริมาณมากเกินไปในสมองอาจทำให้เซลล์ตายได้จากกระบวนการชื่อว่า ภาวะเอ็กไซโททอกซิก (excitotoxicity) อันเกิดจากการกระตุ้นอย่างมากเกินของตัวรับกลูตาเมต ภาวะเอ็กไซโททอกซิกเกิดขึ้นไม่เฉพาะในโรคอัลไซเมอร์เท่านั้นแต่ยังพบในโรคทางระบบประสาทหลายอย่าง เช่น โรคพาร์กินสันและโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)  เมแมนทีน (Memantine; ชื่อการค้า Akatinol Axura Ebixa/Abixa Memox และ Namenda) เป็นสารต้านตัวรับเอ็นเอ็มดีเอชนิดไม่แข่งขัน (noncompetitive NMDA receptor antagonist) ซึ่งถูกใช้ครั้งแรกเป็นสารต้านไข้หวัดใหญ่ สารนี้จะทำงานในระบบกลูตาเมเทอร์จิกโดยขัดขวางตัวรับเอ็นเอ็มดีเอและยับยั้งการกระตุ้นมากเกินของกลูตาเมต เมแมนทีนมีประสิทธิภาพปานกลางในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ชนิดปานกลางและรุนแรง แต่ประสิทธิผลในโรคอัลไซเมอร์ระยะแรกยังไม่เป็นที่ทราบ ผลข้างเคียงของเมแมนทีนยังรายงานพบไม่บ่อยและไม่รุนแรง อาทิประสาทหลอน สับสน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ และเหนื่อยล้า การใช้ยาเมแมนทีนและโดเนเพซิลร่วมกันให้ประสิทธิผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีประสิทธิผลเพียงเล็กน้อยในทางคลินิก

   ยารักษาโรคจิต (antipsychotic) มีประโยชน์ในการลดความก้าวร้าวและอาการทางจิตในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ปัญหาการเคลื่อนไหวหรือการรู้ลดลง จึงไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยทุกราย และหากใช้ในระยะยาวอาจส่งผลเกี่ยวข้องกับการเพิ่มภาวะการตาย

การรักษาทางจิตสังคม
  การรักษาทางจิตสังคมถูกใช้ร่วมกับการรักษาด้วยยา แบ่งออกเป็นวิธีมุ่งเน้นด้านพฤติกรรม (behaviour-oriented) , อารมณ์ (emotion-oriented) , การรู้ (cognition-oriented) หรือการกระตุ้น (stimulation-oriented) ส่วนงานวิจัยถึงประสิทธิผลนั้นยังไม่สามารถหาได้และไม่จำเพาะต่อโรคอัลไซเมอร์ แต่มุ่งเน้นไปยังภาวะสมองเสื่อมทั่วไปแทน
   การแก้ไขพฤติกรรมคือการพยายามระบุและลดสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนและผลที่ตามมาของพฤติกรรมปัญหา วิธีดังกล่าวยังไม่แสดงผลสำเร็จในการทำให้หน้าที่โดยรวมดีขึ้น แต่สามารถช่วยลดปัญหาพฤติกรรมบางอย่างได้ เช่น การกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัจจุบันยังขาดข้อมูลที่มีคุณภาพสูงเกี่ยวกับประสิทธิผลของเทคนิคดังกล่าวในการรักษาปัญหาพฤติกรรมอื่นๆ เช่น การชอบหนีออกจากบ้าน
   การรักษาที่มุ่งเน้นด้านอารมณ์ได้แก่ การบำบัดด้วยความทรงจำ (reminiscence therapy; RT) , การบำบัดด้วยการให้เหตุผล (validation therapy) , จิตบำบัดแบบประคับประคอง (supportive psychotherapy) , การบูรณาการการรับความรู้สึก (sensory integration) หรือที่เรียกว่า สโนซีเลน (snoezelen) , และการบำบัดด้วยการจำลองการมีอยู่ (simulated presence therapy; SPT)
   มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์น้อยมากหรือไม่เป็นทางการที่ยอมรับการรักษาด้วยจิตบำบัดแบบประคับประคอง แต่แพทย์บางส่วนพบว่าวิธีนี้ช่วยให้ผู้ป่วยที่บกพร่องไม่มากสามารถปรับความเจ็บป่วยของเขาได้
   การบำบัดด้วยความทรงจำ (reminiscence therapy; RT) คือการอภิปรายถึงประสบการณ์ในอดีตของแต่ละคนหรือของกลุ่ม ซึ่งบางครั้งอาจใช้ภาพถ่าย สิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน ดนตรีหรือเสียง หรือสิ่งของที่ผู้ป่วยคุ้นเคยในอดีตมาช่วยในการบำบัด แม้จะยังมีการศึกษาที่มีคุณภาพน้อยชิ้นเกี่ยวกับประสิทธิผลของวิธีนี้ แต่การบำบัดด้วยความทรงจำให้ผลดีต่อการรู้และพื้นอารมณ์
   การบำบัดด้วยการจำลองการมีอยู่ (simulated presence therapy; SPT) นั้นคือการรักษาที่อาศัยพื้นฐานของทฤษฎีความผูกพัน (attachment theory) คือการเล่นเสียงบันทึกของญาติสนิทหรือบุคคลสนิทของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ มีหลักฐานชั้นต้นที่ยืนยันว่าการบำบัดแบบนี้ช่วยลดความวิตกกังวลและพฤติกรรมท้าทาย
   ท้ายที่สุด การบำบัดด้วยการให้เหตุผล (validation therapy) นั้นอาศัยพื้นฐานของการยอมรับความเป็นจริงและความจริงส่วนบุคคลของประสบการณ์ผู้อื่น ต่างจากการบูรณาการการรับความรู้สึก (sensory integration) ที่อาศัยการออกกำลังเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสเป็นพื้นฐาน หลักฐานที่สนับสนุนถึงประโยชน์ในวิธีนี้ยังมีน้อย
   เป้าหมายของการรักษาที่มุ่งเน้นการรู้คือการลดความบกพร่องในการรู้ (cognitive deficit) ซึ่งได้แก่การรับรู้ความเป็นจริงและการฟื้นฟูการรู้ การรับรู้ความเป็นจริง (reality orientation) ประกอบด้วยการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเวลา สถานที่ หรือบุคคลเพื่อช่วยให้เข้าใจตัวตนเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมและสถานที่ที่เขาอยู่ ในขณะที่การฟื้นฟูการรู้ (cognitive retraining) มุ่งพัฒนาความสามารถที่บกพร่องโดยการบริหารจิต ทั้งสองวิธีการแสดงประสิทธิผลบางส่วนในการทำให้ความสามารถด้านการรู้ดีขึ้น แม้ในบางการศึกษาผลดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและมีรายงานว่าเกิดผลเสียต่อผู้ป่วย เช่น ความคับข้องใจ
    การรักษาที่มุ่งเน้นการกระตุ้น เช่น ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด การบำบัดโดยอาศัยสัตว์เลี้ยง กายภาพบำบัด และนันทนาการบำบัดชนิดอื่นๆ การกระตุ้นเป็นวิธีการที่นิยมในการพัฒนาพฤติกรรม พื้นอารมณ์ และหน้าที่ อย่างไรก็ตาม การรักษาเหล่านี้นอกจากจะให้ผลดีในด้านการรักษาแล้วประโยชน์หลักยังช่วยพัฒนาทักษะในชีวิตประจำวันด้วย

การให้การดูแลผู้ป่วย
    เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์ยังไม่สามารถรักษาหายขาดได้ และผู้ป่วยต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ดูแลจึงมีความสำคัญในการรักษาและต้องช่วยจัดการดูแลอย่างระมัดระวังตลอดการดำเนินโรค
    ในผู้ป่วยระยะแรกและระยะปานกลาง การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิต ช่วยให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากขึ้นและลดภาระต่อผู้ดูแลได้ ตัวอย่างเช่นการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันง่ายขึ้น การล็อกบ้านและรั้ว การติดป้ายหรือฉลากบนเครื่องใช้ภายในบ้านเพื่อบอกหรือเตือนผู้ป่วย หรือการใช้อุปกรณ์ปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวัน เนื่องจากผู้ป่วยอาจไม่สามารถรับประทานอาหารได้เอง จึงควรทำอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ หรือเป็นของเหลว ถ้าผู้ป่วยเริ่มมีอาการกลืนลำบากอาจต้องใช้สายยางให้อาหาร (feeding tube) ในกรณีดังกล่าวผู้ดูแลและสมาชิกในครอบครัวควรคำนึงถึงประสิทธิผลและจริยธรรมของการให้อาหารทางสายยางต่อเนื่อง ไม่มีข้อบ่งชี้ให้ทำการยึดยั้งผู้ป่วยอยู่กับที่ในระยะใดๆ ของโรค แม้ว่าจะมีสถานการณ์จำเป็นที่ต้องป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายหรือทำอันตรายต่อผู้ดูแล

   เมื่อโรคดำเนินไป อาจเกิดปัญหาทางการแพทย์อื่นๆ ตามมาอีก อาทิ โรคในช่องปากและฟัน แผลกดทับ ขาดสารอาหาร ปัญหาสุขอนามัย หรือการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ผิวหนังหรือตา การดูแลอย่างระมัดระวังช่วยป้องกันภาวะดังกล่าว และหากเกิดปัญหาดังกล่าวตามมาแล้วต้องรับการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ ในระยะสุดท้ายของโรค การรักษาจะมุ่งเน้นไปยังการลดความรู้สึกไม่สะดวกสบายไปจนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต

โรคซึมเศร้า ตอนที่ 2

โรคซึมเศร้า ตอนที่ 2


สาเหตุของโรคซึมเศร้า
  1. พันธุ์กรรม พบว่าโรคซึมเศร้าชนิด bipolar disorder มักจะเป็นในครอบครัวและต้องมีสิ่งที่กระตุ้น เช่นความเครียด
  2. มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองหรือสารเคมีในสมอง การเปลี่ยนแปลง ของ สมดุล ของสารเคมี ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง มีผลต่ออารมณ์ซึมเศร้าขอคน (โดยเฉพาสารสีโรโทนิน นอรเอปิเนพริม และโดปามีน)
  3. ผู้ที่มองโลกในแง่ร้าย ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง
  4. โรคทางกายก็สามารถทำให้เกิดโรคซึมเศร้า เช่นโรคหัวใจ อัมพาต ทำให้ผู้ป่วยมาสนใจดูแลตัวเองโรคจะหายช้า
  5. มีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในเลือด เช่นวัยทอง หรือหลังคลอดก็สามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้า
  6. ความเครียดที่เกิดจากสาเหตุต่างเช่น การสูญเสีย การเงิน การงาน ปัญหาในครอบครัวก็สามารถเป็นเหตุให้เกิดโรงซึมเศร้า
  7. ผู้ที่เก็บกดไม่สามารถแสดงอารมณ์ออมา เช่นดีใจ เสียใจหรืออารมณ์โกรธ
  8. ผู้ที่ด้อยทักษะต้องพึ่งพาผู้อื่น
โรคซึมเศร้าในผู้หญิง
          ผู้หญิงจะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย 2 เท่าเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเช่น การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ การแท้ง ภาวะหลังคลอด วัยทอง เป็นต้น นอกจากนั้นยังอาจจะเกิดจากความเครียดที่ต้องรับผิดชอบทั้งในบ้านและงานนอกบ้าน การรักษาให้ญาติเข้าใจภาวะของผู้ป่วยและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย

โรคซึมเศร้าในผู้ชาย
          แม้ว่าโรคซึมเศร้าในผู้ชายจะพบน้อยกว่าผู้หญิงแต่อัตราการฆ่าตัวตายจะสูงกว่าผู้หญิง โรคซึมเศร้าในผู้ชายจะเกิดโรคทางกายพบว่าอัตราการเกิดโรคหัวใจจะสูงมาก ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะใช้ยาเสพติดและสุราเป็นตัวแก้ไข บางคนก็มุ่งทำงานหนัก ผู้ป่วยจะไม่มีความรู้สึกสิ้นหวังหรือท้อแท้แต่จะหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะวินิจฉัยโรคนี้ แม้ว่าจะรู้ว่าเป็นโรคซึมเศร้าผู้ป่วยก็มักจะปฏิเสธการรักษา

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
          คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าโรคซึมเศร้าเป็นภาวะปกติของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาด้วยอาการทางกาย นอกจากนั้นอาการต่างๆอาจจะเกิดจากผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาโรค หากสามารถวิเคราะห์ว่าเป็นโรคซึมเศร้าจริงและให้การรักษาจะทำให้ผู้สูงอายุมีความสุข

โรคซึมเศร้าในเด็ก
          เด็กๆก็เป็นโรคซึมเศร้าเหมือนกับผู้ใหญ่โดยจะมีอาการ แกล้งป่าย ไม่ไปโรงเรียน ติดพ่อแม่ กังวลว่าพ่อแม่จะเสียชีวิต  ส่วนเด็กโตจะนิ่งไม่พูด มีปัญหาที่โรงเรียน มองโลกในแง่ร้าย แต่เนื่องจากพฤติกรรมของเด็กมีความผันผวนดังนั้นการวินิจฉัยจึงยาก หากพ่อแม่หรือคุณครูพบว่าพฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไป กุมารแพทย์จะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาการรักษา

โรคซึมเศร้า ตอนที่ 1

โรคซึมเศร้า ตอนที่ 1



         โรคซึมเศร้าอาจจะเกิดในคนที่มีการสูญเสีย หรือโรคซึมเศร้าอาจจะเกิดในคนที่มีโรคประจำตัวหรือเกิดในคนปกติทัวๆไป มีการประเมินว่าในระยะเวลา 1 ปีจะมีประชาชนร้อยละ9จะเป็นโรคซึมเศร้า ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจประเมินมากมาย แต่สูญเสียคุณภาพชีวิตรวมทั้งความทุกข์ที่เกิดกับผู้ป่วยจะประเมินมิได้ โรคซึมเศร้าจะทำให้การดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงและเกิดความเจ็บปวดทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล บางครั้งอาจจะทำให้ครอบครัวแตกแยก

         ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า และไม่ได้รับการรักษาทั้งที่ปัจจุบันมียาและวิธีการรักษาที่ได้ผลดี ความนี้จะเป็นแนวทางในการวินิจฉัย หากพบว่าคนที่รู้จักมีอาการเหมือนกับโรคซึมเศร้ารีบแนะนำให้เขาไปพบจิตแพทย์

โรคซึมเศร้าคืออะไร
         โรคซึมเศร้าเป็นการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจและความคิด ซึ่งผลของโรคกระทบต่อชีวิตประจำวันเช่นการรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา หากไม่รักษาอาการอาจจะอยู่เป็นเดือน

โรคซึมเศร้ามีกี่ชนิด

  1. Major depression ผู้ป่วยจะมีอาการ(ดังอาการข้างล่าง)ซึ่งจะรบกวนการทำงาน การรับประทานอาหาร การนอน การเรียน การทำงาน และอารมสุนทรีย์ อาการดังกล่าวจะเกิดเป็นครั้งๆแล้วหายไปแต่สามารถเกิดได้บ่อยๆ
  2. dysthymia เป็นภาวะที่รุนแรงและเป็นเรื้อรังซึ่งจะทำให้คนสูญเสียความสามารถในการทำงานและความรู้สึกที่ดี
  3. bipolar disorder หรือที่เรียกว่า manic-depressive illness ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ซึ่งบางคนอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะค่อยเป็นค่อยไป เวลาซึมเศร้าจะมีอาการมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นช่วงอารมณ์ mania ผู้ป่วยจะพูดมาก  กระฉับกระเฉงมากเกินกว่าเหตุ มีพลังงานเหลือเฟือ ในช่วง mania จะมีผลกระทบต่อความคิด การตัดสินใจและพฤติกรรมผู้ป่วยอาจจะหลงผิด หากไม่รักษาภาวะนี้อาจจะกลายเป็นโรคจิต

อาการของโรคซึมเศร้า
        ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจจะไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกอย่างบางคนก็มีบางอย่างเท่านั้น

อาการซึมเศร้า depression

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้แก่
  • รู้สึกซึมเศร้า กังวล อยู่ตลอดเวลา
  • หงุดหงิดฉุนเฉียว โกรธง่าย
  • อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย
  • การเปลี่ยนแปลงทางความคิด
รู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย
  • รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มีทางเยียวยา
  • มีความคิดจะทำร้ายตัวเอง คิดถึงความตาย พยายามทำร้ายตัวเอง
  • การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้หรือการทำงาน
ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสนุก งานอดิเรก หรือกิจกรรมที่เพิ่มความสนุกรวมทั้งกิจกรรมทางเพศ
  • รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลังงาน การทำงานช้าลง การงานแย่ลง
  • ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม การตัดสินใจแย่ลง
  • การเปลี่ยนปลงทางพฤติกรรม
นอนไม่หลับ ตื่นเร็ว หรือบางรายหลับมากเกินไป
  • บางคนเบื่ออาหารทำให้น้ำหนักลด บางคนรับประทานอาหารมากทำให้น้ำหนักเพิ่ม
  • มีอาการทางกายรักษาด้วยยาธรรมดาไม่หายเช่น อาการปวดศีรษะ แน่นท้อง ปวดเรื้อรัง
  • ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นแย่ลง

อาการ Mania

  • มีอาการร่าเริงเกินเหตุ
  • หงุดหงิดง่าย
  • นอนน้อยลง
  • หลงผิดคิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองใหญ่
  • พูดมาก
  • มีความคิดชอบแข่งขัน
  • ความต้องการทางเพศเพิ่ม
  • มีพลังงานมาก
  • ตัดสินใจไม่ดี
  • มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป


วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โรคไข้หวัด(Cold) และไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (Seasonal Influenza)

โรคไข้หวัด(Cold) และไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (Seasonal Influenza)



ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล(Seasonal Influenza)  เป็นการติดเชื้อ Influenza virus ซึ่งสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ในคนมีหลายสายพันธุ์ แต่ที่จะยกตัวอย่างที่เป็นกันบ่อยๆ คือ สายพันธุ์ H1N1 และ H3N2 เป็นการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ เชื้ออาจจะลามเข้าปอดทำให้เกิดปอดบวม ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัวปวดกล้ามเนื้อมาก จะพบ มากทุกอายุโดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็นพิเศษ แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุ มากกว่า 60 ปีหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น การฉีดวัคซีน ป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอน โรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน ลดการหยุดงานหรือหยุดเรียน

ไข้หวัด(Cold)  เป็นการติดเชื้อของจมูก และคอ บางครั้งเรียก upper respiratory tract infection URI เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วย Rhino-viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่นๆมี Adenoviruses, Respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลั่งของเมือกออกมา ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล ไข้ไม่สูงมาก แม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์ แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุดโดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้หวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก คนสูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้ง

ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ต่างกันอย่างไร
ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่มีอาการคล้ายกันมาก แต่อาการของไข้หวัดใหญ่นั้นรุนแรงกว่าอย่างเห็นได้ชัด

อาการ                          ไข้หวัด                                      ไข้หวัดใหญ่

  • ไข้                    ไม่สูงในผู้ใหญ่ เด็กอาจจะมีไข้         ไข้สูง 38-40 องศา เป็นเวลา 3-4 วัน
  • ปวดศีรษะ          พบน้อย                                         ปวดศีรษะมาก
  • ปวดตามตัว  เล็กน้อย                                        พบบ่อย และปวดมาก
  • อ่อนแรง            เล็กน้อย                                        พบได้นาน 2-3 สัปดาห์
  • อ่อนเพลีย     ไม่พบ                                           พบมาก
  • คัดจมูก              พบบ่อย                                        พบเป็นบางครั้ง
  • จาม                   พบบ่อย                                        พบเป็นบางครั้ง
  • เจ็บคอ               พบบ่อย                                        พบเป็นบางครั้ง
  • ไอ แน่นหน้าอก ไอไม่มาก ไอแห้งๆ                        พบบ่อย บางครั้งเป็นรุนแรง
  • โรคแทรกซ้อน ไซนัสอักเสบ และหูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ และปอดบวม
  • การป้องกัน         ไม่มี                                             ฉีดวัคซีน amantadine or rimantadine                                                                                                         (antiviral drugs)
  • การรักษา          รักษาตามอาการ                             Amantadine or rimantadine ภายใน 24-48                                                                                             ชั่วโมงหลังเกิดอาการ



การติดต่อ
        เชื้อนี้ติดต่อได้ง่ายโดยทางเดินหายใจ วิธีการติดต่อได้แก่ ติดต่อโดยการไอหรือจาม เชื้อจะ เข้าทางเยื่อบุตาและปาก สัมผัสเสมหะของผู้ป่วยทางแก้วน้ำ ผ้า จูบ สัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค

อาการของโรค
       ระยะฟักตัวประมาณ1-4 วันเฉลี่ย 2 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดศรีษะอย่างรุนแรง ปวดแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบกระบอกตา ไข้สูง 39-40 องศา เจ็บคอคอแดง มีน้ำมูกไหล ไอแห้งๆ ตาแดง อาการไข้ คลื่นไส้อาเจียนจะหายใน 2 วัน แต่ อาการน้ำมูกไหลคัดจมูกอาจจะอยู่ได้ 1 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในผู้สูงอายุหรือ มีโรคประจำตัว อาจจะพบว่ามีการอักเสบของเยื่อหุ่มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อย หอบ อาจจะมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะปวดศรีษะ ซึมลง หมดสติ ระบบหายใจอาจจะมีอาการ ของโรคปอดบวม จะหอบหายใจเหนื่อยจนถึงหายใจวาย โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่จะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีบางรายซึ่งอาจจะมีอาการปวดข้อและไอได้ถึง 2 สัปดาห์

ระยะติดต่อ
      ระยะติดต่อหมายถึงระยะเวลาที่เชื้อสามารถติดต่อไปยังผู้อื่น ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่นคือ 1 วันก่อนเกิดอาการ ห้าวันหลังจากมีอาการ ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้ นาน 10 วัน

การวินิจฉัย
       การวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่จะอาศัยระบาดวิทยาโดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาด และ อาการของผู้ป่วย การวินิจฉัยที่แน่นอนต้องทำการตรวจดังนี้นำเอาเสมหะจากจมูกหรือคอไปเพาะ เชื้อไวรัส เจาะเลือดผู้ป่วยหาภูมิ 2 ครั้งโดยครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 14 วัน การตรวจหา Antigen การตรวจโดยวิธี PCR,Imunofluorescent

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ
        ผู้ป่วยอาจจะมีอาการกำเริบของโรคที่เป็นอยู่ เช่นหัวใจวาย หรือหายใจวาย มีการติดเชื้อ แบคทีเรียซ้ำ เช่น ปอดบวม ฝีในปอด เชื้ออาจจะทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การรักษา
       ผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะหายเอง หากมีอาการไม่มากอาจจะดูแลเองที่บ้าน วิธีการดูแลมีดังนี้ให้นอนพักไม่ควรจะออกกำลังกาย ให้ดื่มน้ำเกลือแร่หรือดื่มน้ำผลไม้ ไม่ควรดื่ม น้ำเปล่ามากเกินไปเพราะอาจจะขาดเกลือแร่ รักษาตามอาการ หากมีไข้ให้ใช้ผ้าชุมน้ำเช็ดตัว หากไข้ ไม่ลงให้รับประทาน paracetamol ไม่แนะนำให้ aspirinในคนที่อายุน้อยกว่า 20 ปีเพราะอาจจะทำ ให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า Reye syndrome ถ้าไอมากก็รับประทานยาแก้ไอ แต่ในเด็กเล็กไม่ควรซื้อ ยารับประทาน สำหรับผู้ที่เจ็บคออาจจะใช้น้ำ 1 แก้วผสมเกลือ 1 ช้อนกรวกคอ อย่าสั่งน้ำมูกแรงๆ เพราะอาจจะทำให้เชื้อลุกลาม ในช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์สาธรณะ ลูกบิด ประตู เวลาไอหรือจามต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก ช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงสถามที่ สาธารณะ

ผู้ป่วยควรจะพบแพทย์เมื่อไร
       แม้ว่าไข้หวัดใหญ่จะหายได้เอง แต่ผู้ป่วยบางรายมีโรคแทรกซ้อน ดังนั้นหากมีอาการ เหล่านี้ควรพบแพทย์ผู้ป่วยเด็กควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ไข้สูงและเป็นมานาน ให้ยาลดไข้แล้วไข้ยังเกิน 38.5องศา หายใจหอบหรือหายใจลำบาก มีอาการมากกว่า 7 วัน ผิวสีม่วง เด็กดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารไม่พอ เด็กซึม หรือไม่เล่น เด็กไข้ลด แต่อาการไม่ดีขึ้น
สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นไข้หวัดใหญ่หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้พบแพทย์

สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นไข้หวัดใหญ่หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้พบแพทย์
• ไข้สูงและเป็นมานาน
• หายใจลำบาก หรือหายใจหอบ
• เจ็บหรือแน่นหน้าอก
• หน้ามืดเป็นลม
• อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้

กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มที่เสี่งต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ควรจะพบแพทย์เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่
• ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด
• คนท้อง
• คนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
• ผู้ป่วยโรคเอดส์
• ผู้ที่พักในสถาพเลี้ยงคนชรา

ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการเหล่านี้ควรจะรักษาในโรงพยาบาล
• มีอาการขาดน้ำไม่สามารถดื่มน้ำได้อย่างเพียงพอ
• เสมหะมีเลือดปน
• หายใจลำบาก หายใจหอบ
• ริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีม่วงเขียว
• ไข้สูงมากเพ้อ
• มีอาการไข้และไอหลังจากไข้หวัดหายแล้ว

การรักษาในโรงพยาบาล 
      แพทย์จะให้น้ำเกลือสำหรับผู้ที่ดื่มน้ำไม่พอ ผู้ป่วยเหล่านี้ควรจะได้รับยา Amantadine หรือ rimantidine เพื่อให้หายเร็วและลดความรุนแรงของ โรค ควรจะให้ใน 48 ชมหลังจากมีไข้ และให้ต่อ 5-7 วัน ยานี่ไม่ได้ลดโรคแทรกซ้อน ให้ยาลดน้ำมูกหากมีน้ำมูก ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนไม่ควรให้ยาปฎิชีวนะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการจะหายใน 2-3 วันไข้จะหายใน 7 วันอาการอ่อนเพลียอาจจะอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์

การป้องกัน
      ล้างมือบ่อยๆ อย่าเอามือเข้าปากหรือขยี้ตา, อย่าใช้ของส่วนตัว เช่นผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ร่วมกับผู้อื่น, หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย, ให้พักที่บ้านเมื่อเวลาป่วย, เวลาไอจามใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก

การฉีดวัคซีน
      การป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน ซึ่งทำจากเชื้อที่ตายแล้วโดยฉีดทีแขนปีละครั้ง หลังฉีด 2 สัปดาห์ภูมิจึงขึ้นสูงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ แต่การฉีดจะต้องเลือกผู้ป่วยดังต่อไปนี้
• ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
• ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัวเช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคตับ
• ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
• ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
• ผู้ป่วยโรคเอดส์
• หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป และมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่
• ผู้ที่อาศัยในสถานเลี้ยงคนชรา
• เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง
• นักเรียนที่อยู่รวมกัน
• ผู้ที่จะไปเที่ยวยังที่ระบาดของไข้หวัดใหญ่
• ผู้ที่ต้องการลดการติดเชื้อ

การใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่เพื่อรักษา
     Amantadine and Ramantadine เป็นยาที่ใช้ในการป้องกันและรักษาไวรัสไๆข้หวัดใหญ่ชนิด A ไม่ ครอบคลุมชนิด B Zanamivir Oseltamivir เป็นยาที่รักษาได้ทั้งไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิด A,B การให้ยาภายใน 2 วันหลังเกิดอาการจะลดระยะเวลาเป็นโรค จะใช้ยารักษาไข้หวัดกับคนกลุ่มใด เราจะใช้ยากับคนกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และอยู่ในช่วงที่มีการระบาดของโรคกลุ่มที่ควรจะได้รับยารักษาได้แก่
• คนที่อายุมากกว่า 65 ปี
• เด็กอายุ 6-23 เดือน
• คนท้อง
• คนที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ

การให้ยาเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่
      ยาที่ได้รับการรับรองว่าใช้ป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้แก่ Amantadine Ramantadine Oseltamivir วิธีการ ป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน แต่ก็มีบางกรณีที่จำเป็นต้องให้ยาเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่
      ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับวัคซีนไม่ทัน ทำให้ต้องได้รับยาในช่วงที่มีการระบาดของโรค ผู้ที่ดูแลกลุ่มเสี่ยงและไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ควรจะได้รับยาในช่วงที่มีการระบาดของโรค ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่นโรคเอดส์ กลุ่มคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนและไม่อยากเป็นโรค

ข้อมูลจาก http://beid.ddc.moph.go.th/