วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's Disease)

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's Disease)


โรคพาร์กินสัน (Parkinson's Disease)
       ถูกค้นพบครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ.1817 โดย ดร.เจมส์ พาร์กินสัน อายุรแพทย์ชาวอังกฤษ แต่มาพูดถึงกันมากขึ้นเมื่อมาเป็นกับคนดังอย่างอดีตประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน และนักแสดงไมเคิล เจ ฟ็อกซ์ อัตราการเป็นโรคพาร์กินสันของเมืองไทยและทั่วโลก คือใน 1,000 คนจะเป็นโรคพาร์กินสัน 3 คน โรคนี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่ก็มีผู้ป่วยประมาณ 5-10% ที่มีอายุในช่วง 40 ปีหรือต่ำกว่านั้น
      โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง โดยเฉพาะส่วนที่สร้างโดปามีน (dopamine) ทำให้โดปามีนมีปริมาณน้อยลง จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหว

อาการของโรคพาร์กินสัน
อาการทางกาย

  • สั่น
  • เคลื่อนไหวช้า
  • หน้านิ่ง
  • พูดช้า เสียงค่อย
  • น้ำลายไหล
  • ร่างกายแข็งเกร็ง
  • เดินลำบาก เดินซอยเท้า เท้าติดเวลาก้าวขา
  • หกล้มง่าย
  • อาการทางจิตใจ
  • ซึมเศร้า
  • วิตกกังวล

อาการอื่นๆ

  • ความจำระยะสั้นไม่ค่อยดีในระยะต้น ความจำเสื่อมในระยะท้าย
  • เหงื่อออกมาก
  • ท้องอืด ท้องผูก
  • ปัสสาวะบ่อย ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้
  • การรับรู้กลิ่นและรสไม่ดี
  • มึนศีรษะเวลาลุกขึ้นเนื่องจากความดันโลหิตต่ำลง


สาเหตุของโรคพาร์กินสัน
       ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันอย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรคพาร์กินสันได้ ได้แก่
ปัจจัยทางพันธุกรรม ในรายที่มียีนผิดปกติอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสันได้
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับสารบางอย่างเป็นเวลานานๆ ไม่ว่าจะโดยการสูดดมหรือการรับประทาน หากแต่ยังไม่ทราบว่าสารใดในสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน

การรักษาโรคพาร์กินสัน
       ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้ ซึ่งวิธีการรักษาที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้
การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาตามอาการ โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบโดปามีน
การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation) เป็นวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งเคยได้รับการรักษาด้วยยา แต่มีอาการมากขึ้นจนการรักษาด้วยยาไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร

ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น