วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โรคภูมิแพ้ Allergy

โรคภูมิแพ้



โรคภูมิแพ้ (Allergy) คือความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินของระบบภูมิคุ้มกัน[1] อาการภูมิแพ้เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ตอบสนองต่อสสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายซึ่งมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ซึ่งสารที่ก่อให้เกิดการตอบสนองนั้นเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ โดยอาการตอบสนองต่อสารเหล่านี้ไม่ใช่ความผิดปกติแต่กำเนิด, สามารถคาดเดาได้ และไม่เรื้อรัง ภูมิแพ้เป็นหนึ่งในความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินและถูกเรียกในเชิงวิชาการว่า ประเภทที่หนึ่ง (type I) หรือ ประเภทเฉียบพลัน (immediate) อาการภูมิแพ้เหล่านี้เฉพาะเจาะจงเนื่องจากเกิดขึ้นโดยการกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากเกินไป คือ แมสต์เซลล์ และเบโซฟิล โดยแอนติบอดีที่ชื่อว่า อิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) การกระตุ้นนี้ส่งผลให้เกิดการอักเสบซึ่งมีระดับตั้งแต่ทำให้ระคายเคืองไปจนถึงการเสียชีวิต
ภูมิแพ้ระดับเบา เช่น เยื่อจมูกอักเสบ พบได้ทั่วไปในหมู่ประชากรของมนุษย์และก่อให้เกิดอาการ เช่น ตาแดง, การคัน, น้ำมูกไหล, กลาก, ลมพิษ และหอบหืด ซึ่งภูมิแพ้นี้เองที่ในบางสถานการณ์อาจจะเป็นต้นเหตุสำคัญในอาการหอบหืด ในคนไข้บางราย อาการแพ้รุนแรงต่อสภาวะแวดล้อม, สารก่อภูมิแพ้ทางโภชนาการ หรือยาบางชนิด อาจส่งผลให้เกิดอาการตอบสนองที่เป็นอันตรายต่อชีวิตที่เรียกว่าแอนาฟิแล็กซิส นอกจากนี้อาการแพ้อาหารหรืออาการตอบสนองต่อพิษของการกัดต่อยจากแมลง เช่น ต่อและผึ้ง ก็มักเกี่ยวข้องกับอาการรุนแรงเหล่านี้[2]
การทดสอบหลากหลายวิธีเพื่อที่จะวินิจฉัยอาการภูมิแพ้ เช่น การนำสารก่อภูมิแพ้ที่น่าจะเป็นไปได้ทาลงบนผิวหนังเพื่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น อาการบวม หรือการทดสอบเลือด ต่างก็สามารถช่วยให้ค้นพบสารก่อภูมิแพ้แบบเจาะจงที่เป็นอิมมูโนโกลบูลินอีได้
การรักษาภูมิแพ้ เช่น การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือการรับประทานยาต้านฮิสทามีน ก็สามารถป้องกันการเกิดอาการภูมิแพ้แบบเจาะจงได้ หรือไม่ว่าจะเป็นการรับสารสเตอรอยด์ซึ่งจะช่วยปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกัน และยาบรรเทาอาการคัดจมูกก็สามารถบรรเทาอาการแพ้ลงได้ ส่วนมากแล้วยาเหล่านี้เป็นยาที่ใช้รับประทาน ยกเว้นอะดรีนาลินที่จำเป็นต้องรับผ่านทางการฉีดยา นอกจากนี้แล้วยังมีอีกวิธีคือการบำบัดด้วยสารก่อนภูมิแพ้ ซึ่งจะฉีดสารก่อนภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายทีละน้อยเพื่อให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่ออาการแพ้นั้นได้เอง

สาเหตุของโรคภูมิแพ้

     เป็นเพราะว่าระบบภูมิคุ้มกันมีปฎิกิริยาที่ไวเกินไปในการตอบสนองสิ่งแปลกปลอมแบบผิดปกติ ทั้งๆที่สิ่งแปลกปลอมนั้นไม่มีอันตรายกับร่างกาย แต่เป็นความเข้าใจผิดของร่างกายที่คิดว่าสิ่งแปลกปลอมบางอย่างเป็นอันตราย จึงมีปฎิกิริยาตอบสนอง โดยการผลิตสารภูมิต้านทานขึ้นเพื่อกำจัดและทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น และแทนที่สารภูมิต้านทานที่ร่างกายผลิตขึ้นจะเป็นเครื่องปกป้องร่างกาย กลับกลายเป็นว่ามันเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายเจ็บปวดเสียเอง จึงทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น ไข้ละอองฟาง

    อาการของโรคภูมิแพ้

     ปฎิกิริยาภูมแพ้จากสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นกับแต่ละคนนั้นจะแสดงอาการต่างกันไป แม้แต่สารชนิดเดียวกันก็ตาม เช่น การเกิดอาการแบบเฉียบพลัน คือ แพ้ละอองเกสรดอกไม้ ทำให้หายใจไม่สะดวก น้ำมูกไหล หรือคันตา ตาแดง หากแพ้อาหารก็อาจจะอาเจียน มีผื่นคันขึ้นตามผิวหนัง มีอาการหืด ผิวหนังอักเสบ หรือเกิดอาการช๊อค ส่วนอาการที่ไม่เฉียบพลัน คือ แพ้เครื่องประดับที่เป็นนิเกิล หรือกาวลาเท็กซ์ เมื่อเกิดอาการแพ้ผิวหนังจะอักเสบ

   การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้

     เมื่อไม่รู้สาเหตุของการแพ้ควรไปปรึกษาแพทย์ แพทย์จะสอบถามและทดสอบด้วยปลาสเตอร์บนหลัง และตรวจเลือด หรือใช้วิธีเทสต์ด้วยการสะกิดผิวหนังให้เป็นแผลเล็กๆ แล้วหยดน้ำยาที่มีสารต้องสงสัยว่าจะทำให้เกิดปฎิกิริยาภูมิแพ้ลงไป เมื่อหาสาเหตุของภูมิแพ้ได้ เราก็ควรจะหลีกเลี่ยงเท่าที่จะทำได้ หากเป็นโรคภูมิแพ้ที่เกิดจากการสัมผัสก็ไม่น่ามีปัญหา

   วิธีป้องกันโรคภูมิแพ้

     . ที่สำคัญก็คือต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรง กินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับให้เพียงพอ ไม่เครียด หลีกเลี่ยงสารพิษและพยายามมองโลกในแง่ดีก็จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคแข็งแรงขึ้น เพราะผู้ที่ใช้ร่างกายและจิตใจจนอ่อนล้า จะทำให้ประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันน้อยลง ทำให้ตอบสนองต่อการรุกรานของสิ่งแปลกปลอมได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้เจ็บป่วยได้ง่าย

     . หากแพ้ฝุ่นไรในบ้าน ก็ควรเปลี่ยนมาใช้ฟูกที่มีลักษณะพิเศษที่ป้องกันฝุ่นไรได้ดี และควรซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ด้วยอุณหภูมิ 60 องศา และนำผ้าที่ซักรีดเรียบร้อยแล้วให้เก็บไว้ในตู้เสื้อผ้า รักษาความสะอาดของบ้านและเฟอร์นิเจอร์

     . ปิดหน้าต่างก่อนค่ำ เนื่องจากละอองเกสรของดอกไม้จะฟุ้งกระจายเมื่ออากาศเย็นลง

     . ทาวาสลีนไว้ในรูจมูก เพื่อดักจับละอองเกสรดอกไม้ไม่ให้เข้าไปในจมูกและเยื่อบุช่องคอ

     . สระผมทุกเย็น เพราะว่าฝุ่นละอองเกสรดอกไม้ที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้นั้นอาจเกาะติดกับเส้นผม (แต่ควรเป่าผมให้แห้งก่อนนอนทุกครั้ง)

     . สวมแว่นกันแดดที่ปกปิดดวงตาได้มิดชิด เพื่อไม่ให้ฝุ่นและละอองเกสรดอกไม้เข้าตา

     การรักษาโรคภูมิแพ้

     ปัจจุบันผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้สามารถรับการฉีดวัคซีนได้โดยการฉีดสารต้องสงสัยว่าจะเกิดภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะต่อสารภูมิแพ้นั้น โดยจะเพิ่มขนาดขึ้นเรื่อยๆและต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสามปี ซึ่งผู้ป่วยต้องไปโรงพยาบาลเป็นประจำเพื่อฉีดสารภูมิแพ้เป็นช่วงๆตลอดทั้งปี ผู้ที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนควรเป็นผู้ที่มีอาการน้ำมูกไหลเป็นเวลานานถึงสี่อาทิตย์ติดต่อกัน การรักษาด้วยการฉีดวัคซีนในปัจจุบันนั้น ใช้ได้กับผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้ ขนสัตว์ พิษแมลงสัตว์กัดต่อย หรือไรฝุ่น ในอนาคตอาจมีวัซีนที่สามารถรักษาอาการภูมิแพ้อย่างอื่นๆอีก เพราะวิวัฒนาการทางการแพทย์มีการค้นคว้าวิจัยกันอยู่เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น